เวลาที่เที่ยงแท้ในชีวิต


เมื่อคิดถึงนาฬิกาบอกเวลาที่เที่ยงตรง และแม่นยำนั้น แน่นอนว่าคนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงนาฬิกาที่ผลิตจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพราะได้รับความน่าเชื่อถือจากผู้ผลิตว่ามีมาตรฐานที่สูงที่สุดในโลก

แต่ไม่ว่าจะมีเงินซื้อนาฬิกาที่มีความแม่นยำในการบอกเวลาสักเพียงใดก็ตาม ก็มิอาจบอกได้ถึงความแม่นยำ และความแน่นอนในชีวิตของคนเราทุกคนได้ 

เพราะชีวิตหาได้มีความเที่ยงแท้และแน่นอน..

หากเราสังเกตการแบ่งเวลาตามเข็มบอกเวลาของนาฬิกานั้น จะเห็นได้ว่า ในช่วงเวลาหนึ่งวัน หรือยี่สิบสี่ชั่วโมงนั้น จะมีช่วงเวลาเที่ยงวัน และเที่ยงคืน คือเป็นช่วงเวลาที่เข็มสั้น เข็มยาว และเข็มวินาทีของนาฬิกาอยู่ตรงกันพอดีที่ตัวเลขสิบสอง 

นั่นคือช่วงเวลาที่เราเรียกว่า 'เที่ยงตรง' หรือ 'เที่ยงวัน'  และ 'เที่ยงคืน' อย่างพอดิบพอดี..

และหากเมื่อใดที่เข็มวินาทียังเดินไปไม่ถึงเลขสิบสอง หรือเกินจากเลขสิบสองไปเพียงวินาทีเดียว นั่นก็เท่ากับว่าไม่ใช่เวลาที่เที่ยงตรง หรือเที่ยงคืนพอดี..

เท่ากับว่าในหนึ่งวัน หรือยี่สิบสี่ชั่วโมงนั้น จะมีช่วงเวลาที่เป็นเที่ยงตรงพอดีเพียงหนึ่งวินาที และเที่ยงคืนตรงพอดีอีกหนึ่งวินาทีเท่านั้น รวมเป็นสองวินาทีในหนึ่งวัน

และหากว่าเราเอาจำนวนสองวินาทีที่ว่านี้ คูณจำนวนเจ็ดวัน หรือหนึ่งสัปดาห์ก็จะเท่ากับ 'สิบสี่วินาที'

แล้วถ้าเราเอาจำนวนสิบสี่วินาทีที่ว่านี้ คุณด้วยจำนวนสิบสองเดือน คือหนึ่งปี ก็จะได้เท่ากับ 'หนึ่งร้อยหกสิบแปดวินาที' หรือ 'สองนาทีกับอีกสี่สิบแปดวินาที'

จะเห็นว่าหากเราเอาจำนวนของความเที่ยงตรง และเที่ยงคืนของเวลามาตรฐานสากลมาเป็นหลักคิดแล้ว ในหนึ่งปี หรือสามร้อยหกสิบห้าวัน เราจะมีเวลาแห่งความเที่ยงตรงจริงๆ เพียงแค่สองนาทีกว่าๆ เท่านั้น

ส่วนเวลาที่เหลือในหนึ่งปีนั้น นับเป็นเวลาแห่งความไม่เที่ยงแท้ ไม่เที่ยงตรงอย่างแน่นอน..

ลองคิดกันดูเล่นๆ ก็ได้ ว่าขณะนี้ชีวิตของเรานั้นมีอายุผ่านมาได้กี่ปีแล้ว ลองเอาจำนวนปีของชีวิตเราไปคูณด้วยหนึ่งร้อยหกสิบแปดวินาทีดู เราก็จะทราบว่าในชีวิตของเรานั้น ได้ผ่านความเที่ยงตรง หรือเที่ยงแท้นั้นมาได้กี่นาทีกันแล้ว..

เพราะว่าช่วงเวลาแห่งชีวิตส่วนที่เหลืออยู่นั้น กำลังดำเนินไปพร้อมกับเวลาแห่งความ 'ไม่เที่ยงแท้' และแน่นอนอยู่นั่นเอง..


LINE สแควร์

แวะร้านก่อนดีไหม